หวด ภาชนะนึ่งข้าวเหนียวจากไม้ไผ่
ความเป็นมา จากวิถีชีวิตและความเป็นอยู่อันเรียบง่าย ของประชาชนชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ที่มีค่านิยมในการรับประทานข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก อีกทั้งนักคิดค้นหาวิธีการประดิษฐ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ด้วยการนำเอาวัสดุที่มีในท้องถิ่นราคาถูก หาได้ง่าย
และใช้ภูมิปัญญา
ที่แฝงไว้ด้วยศิลปะที่น่าทึ่ง
เช่น ศิลปะการจักสาน การถักทอ
การปั้น แกะสลัก เป็นต้น
ทั้งนี้
การประดิษฐ์เครื่องใช้ต่าง ๆ
นั้นจะมีขั้นตอนต่อเนื่อง
ที่เน้นกระบวนการด้วย
หวดนึ่งข้าว ก็เป็นเครื่องใช้ อย่างหนึ่ง
ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของชาวบ้านทุกวันจะต้องใช้หวดนึ่งข้าวเป็น
ประจำ การนึ่งข้าวเหนียวด้วยหวดนั้น นับว่าเป็นวิธีง่ายและสะดวกที่สุด
ดังนั้น
หวดนึ่งข้าวจึงเป็นเครื่องใช้
ที่ผู้ผลิตสามารถทำรายได้ให้กับครอบครัว
โดยทำเป็นอาชีพเสริมได้
เพราะนอกจากจะใช้หวดนึ่งข้าวแล้ว
ยังสามารถดัดแปลงหวดเป็นเครื่องใช้อย่างอื่นได้ด้วย เช่น
ประดิษฐ์เป็นโคมไฟตกแต่งร้าน
ประดิษฐ์เป็นหน้ากากแสดงผีตาโขน
และสิ่งอื่นได้อีกมากมาย
บ้านสำราญ ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม เป็นหมู่บ้านหนึ่ง
ที่มีการอนุรักษ์และสืบทอดการสวนหวดนึ่งข้าวมาหลายชั่วอายุคนแล้ว
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางการผลิต เครื่องมือ
เครื่องใช้ต่าง ๆ มากก็ตาม หวดนึ่งข้าวก็ยังเป็นที่นิยมกันอยู่วัสดุอุปกรณ์การทำหวดนึ่งข้าว พร้า เลื่อย
ไม้ไผ่เฮี้ย เศษผ้า
ขั้นเตรียมเส้นตอก
ใช้พร้าตัดไม้ไผ่เฮี้ยจากกอ
โดยเลือกลำที่ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป
ใช้เลื่อยตัวให้เป็นปล้อง ๆ โดยทิ้งส่วนที่เป็นข้อ
ความยาวของไม้ไผ่ที่เลื่อยนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของหวด เช่น
ถ้าสานหวดใหญ่จะตัดไม้ให้ยาว 35
นิ้ว หวดขนาดกลาง 30 นิ้ว
หวดขนาดเล็ก 25 นิ้ว เป็นต้น
ใช้พร้าผ่าไม้ไผ่เป็นซีก (ชาวบ้านเรียก
กีบ) ขนกดความกว้างของซีกไม้ไผ่ หวดขนาดใหญ่ กว่าง 0.5 ซม. หวดขนาดกลาง
กว้าง 0.8 ซม. หวดขนาดเล็ก กว้าง 0.6 ซม.
การจักส่วยตอก คือ การเหลาซีกไม้ไผ่เพื่อลบคมของซีกไม้ตรงกลางออก
อล้วเหลาหัวท้ายของซีกไม้ให้เรียวลง
การจักตอก คือ การเอาส่วนที่เป็น เนื้อไม้และเปลือกไม้ไผ่ (ติวไม้)
แยกออกจากกันซีกหนึ่งจะจักเป็นเส้นตอกได้ ประมาณ 8-10 เส้นการจักตอกสำหรับสานหวด
ควรหาสไม้ไผ่ที่ค่อนข้างอ่อน ความยาวของเส้นตอก ทำตามขนกดที่กล่าวข้างต้น
ขั้นนำเส้นตอกที่จักไว้ไปผึ่งแดดย่าง
หรือรมควัน
นำเส้นตอกที่ จักเสร็จแล้วผึ่งแดดให้แห้ง ถ้าเป็นฤดูก็ใช้วิธีรมควัน
จะทำให้ไม่มีรา ขึ้น การผึ่งแดดใช้เวลา 2-3 วันถ้ารมควันก็ให้สังเกตดูสีของเส้นตอก
เป็นสี น้ำตาล ก็ถือว่าใช้ได้
เมื่อเส้นตอกผึ่งแดดหรือรมควันได้ที่แล้วมัดตอกเป็นมัด ๆ
ตามความยาวของเส้นตอก แต่ชะขนาดไว้
ขั้นการสานหวด
การก่อหวดใช้ตอกเป็นเปลือกไผ่ (ติว ไม้) สานก่อรวมกันกับตอกธรรมดา
วางในแนวตั้ง 4 เส้น แนวนอน 8 เส้น สานขัดเป็นลาย 3 โดยเริ่มจากจุดกึ่งกลาง
สานไปข้างจุดกึ่ง สานไปข้างละ 13 ชัด
รอบปลุกก้นหวด นำเอมหวดที่ก่อแล้วมาหักมุมที่จุดกึ่งกลางแล้ว สานลาย 3 ไป
รอบ ๆ หวดจนหมดเส้นตอกทั้ง 2 ข้าง
การสานหวด ถ้าสานความสูงของหวดยังไม่ได้ขนาด
ก็สามารถใช้เส้นตอกเพิ่มความสูงได้แล้วสานเพิ่มเข้าไปอีกทั้ง2 ข้าง
การไพหวด เมื่อความสูงได้ตามความต้องการแล้ว จะใช้ตอกไพ
มาสานขัดหวดเป็นขัดลาย 3 โดยใช้ตอกไพ 3 เส้น สานลายขัดไล่กันไปให้รอบ แล้ว
ตัดเส้นตอกที่ยาวเกินไปทิ้งเพื่อเตรียมม้วนในขั้นตอนสุดท้าย
การม้วนหวดเริ่มจากด้านข้างของหวด ใช้นิ้วมือหักม้วนไปตามลาย ม้วนต่อกันไปเรื่อย
ๆ จนถึงกึ่งกลายและเหน็บเส้นตอก 2 –3 เส้น
สุดท้ายลงไปตามลาย ของหวดแต่ละข้างก็จะได้หวดนึ่งข้าวที่สมบูรณ์
การสานหวดนึ่งข้าว เป็นกระบวนการที่ ต่อเนื่อง
ผสมสานกับงานศิลปะของชาวบ้านที่สามารถถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น แม้
ว่าสังคมปัจจุบันจะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัยก็ตาม เราก็ควรจะอนุรักษ์
หวดนึ่งข้าว อันเป็นมรดกภูมิปัญญาชาวบ้านไว้ ให้คงอยู่สืบต่อไป
อ้างอิง: บ้านสำราญ
ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม
จังหวัดนครพนม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น