วัสดุที่ใช้ทำกระติบข้าว
กระติบข้าวสามารถทำได้จากวัสดุหลายอย่าง
เช่น ใบจาก ใบตาล ใบลาน เป็นต้น แต่ที่นิยมใช้ทำมาก และมีคุณภาพดีที่สุด
ต้องทำจากไม้ไผ่
ไม้ไผ่มีหลายชนิด แต่ละชนิด เหมาะกับงานแต่ละอย่าง และไม้ไผ่ที่นิยมนำมาทำกระติบข้าว คือไม้ไผ่บ้าน หรือไม้ไผ่ใหญ่ อายุประมาณ 10 เดือน ถึง 1 ปี เพราะมีปล้องใหญ่และปล้องยาว เนื้อไม้เหนียวกำลังดี ไม่เปราะง่าย ทำเป็นเส้นตอกสวย ขาว
ไม้ไผ่มีหลายชนิด แต่ละชนิด เหมาะกับงานแต่ละอย่าง และไม้ไผ่ที่นิยมนำมาทำกระติบข้าว คือไม้ไผ่บ้าน หรือไม้ไผ่ใหญ่ อายุประมาณ 10 เดือน ถึง 1 ปี เพราะมีปล้องใหญ่และปล้องยาว เนื้อไม้เหนียวกำลังดี ไม่เปราะง่าย ทำเป็นเส้นตอกสวย ขาว
ขั้นตอนการสานกระติบข้าว
1. นำปล้องไม้ไผ่มาตัดหัวท้าย ตัดเอาข้อออก
ผ่าเป็นซีกทำเส้นตอกกว้างประมาณ2-3 ม.ม.
ขูดให้เรียบและบาง
ขูดให้เรียบและบาง
2. นำเส้นตอกที่ได้มาสานเป็นรูปร่างกระติบข้าว
หนึ่งลูกมี 2 ฝา มาประกอบกัน
3. นำกระติบข้าวที่ได้จากข้อ (2.) มาพับครึ่งให้เท่า ๆ กันพอดี เรียกว่า 1 ฝา
4. ขั้นตอนการทำฝาปิด โดยจักเส้นตอกที่มีความกว้าง 1 นิ้ว สานเป็นลายตามะกอก และลายขัด
5. นำฝาปิดหัวท้ายมาตัดเป็นวงกลม มาใส่เข้าที่ปลายทั้งสองข้าง
6. ใช้ด้ายไนล่อน และเข็มเย็บเข้าด้วยกันรอบฝาปิดหัวท้าย
7. นำก้านตาลที่ม้วนไว้มาเย็บติดกับฝาล่าง ที่เป็นตัวกระติบข้าว
8. นำกระติบข้าวที่ได้ไปรมควันจากฟางข้าว เพื่อกันแมลงเจาะ และเพื่อความสวยงาม
ทนทานไม่เกิดราดำ
9. นำไม้มาเหลาเป็นเส้นตอก กลมยาวเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 ม.ม. ความยาวรอบ บางเท่ากับฝาก ระติบพันด้วยด้ายไนล่อน แล้วเย็บติดฝาขอบบน เพื่อความสวยงาม
10. เจาะรูที่เชิงกระติบข้าว ด้วยเหล็กแหลม 2 รู ให้ตรงข้ามกัน แล้วทำหูที่ฝาด้านบน ตรงกับรูที่ เจาะเชิงไว้
11. ใช้ด้ายไนล่อนสอดเข้าเป็นสายไว้สะพายไปมาได้สะดวก จะได้กระติบข้าวที่สำเร็จเรียบร้อย สามารถนำมาใช้และจำหน่ายได้
3. นำกระติบข้าวที่ได้จากข้อ (2.) มาพับครึ่งให้เท่า ๆ กันพอดี เรียกว่า 1 ฝา
4. ขั้นตอนการทำฝาปิด โดยจักเส้นตอกที่มีความกว้าง 1 นิ้ว สานเป็นลายตามะกอก และลายขัด
5. นำฝาปิดหัวท้ายมาตัดเป็นวงกลม มาใส่เข้าที่ปลายทั้งสองข้าง
6. ใช้ด้ายไนล่อน และเข็มเย็บเข้าด้วยกันรอบฝาปิดหัวท้าย
7. นำก้านตาลที่ม้วนไว้มาเย็บติดกับฝาล่าง ที่เป็นตัวกระติบข้าว
8. นำกระติบข้าวที่ได้ไปรมควันจากฟางข้าว เพื่อกันแมลงเจาะ และเพื่อความสวยงาม
ทนทานไม่เกิดราดำ
9. นำไม้มาเหลาเป็นเส้นตอก กลมยาวเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 ม.ม. ความยาวรอบ บางเท่ากับฝาก ระติบพันด้วยด้ายไนล่อน แล้วเย็บติดฝาขอบบน เพื่อความสวยงาม
10. เจาะรูที่เชิงกระติบข้าว ด้วยเหล็กแหลม 2 รู ให้ตรงข้ามกัน แล้วทำหูที่ฝาด้านบน ตรงกับรูที่ เจาะเชิงไว้
11. ใช้ด้ายไนล่อนสอดเข้าเป็นสายไว้สะพายไปมาได้สะดวก จะได้กระติบข้าวที่สำเร็จเรียบร้อย สามารถนำมาใช้และจำหน่ายได้
วัสดุที่ใช้ทำกระติบข้าว
1.ไม้ไผ่บ้าน
2. ด้ายไนล่อน
3. เข็มเย็บผ้าขนาดใหญ่
4. กรรไกร
5. มีดโต้
6. เลื่อย
7. เหล็กหมาด (เหล็กแหลม)
8. ก้านตาล
9. เครื่องขูดตอก
10. เครื่องกรอด้าย
3. เข็มเย็บผ้าขนาดใหญ่
4. กรรไกร
5. มีดโต้
6. เลื่อย
7. เหล็กหมาด (เหล็กแหลม)
8. ก้านตาล
9. เครื่องขูดตอก
10. เครื่องกรอด้าย
ประโยชน์ที่ได้จากกระติบข้าว
1. ใช้บรรจุข้าวเหนียว
2. เป็นของชำร่วย
3. ประดับตกแต่ง
4. กล่องเอนกประสงค์
5. กล่องออมสิน
6. แจกัน
7. กล่องใส่ดินสอ
1. ใช้บรรจุข้าวเหนียว
2. เป็นของชำร่วย
3. ประดับตกแต่ง
4. กล่องเอนกประสงค์
5. กล่องออมสิน
6. แจกัน
7. กล่องใส่ดินสอ
อ้างอิง: หมู่ที่ 1 บ้านบ้านหนองบัว ตำบล :นาราชควาย อำเภอ :เมืองนครพนม จังหวัด
:นครพนม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น